เรื่องหนึ่งที่ผู้ใช้งานเครื่อง Laptop หรือ Notebook มักเข้าใจผิดกันอยู่เสมอ ๆ ก็คือ ความแรงของการ์ดจอบนเครื่อง Laptop นั้นแรงเทียบเท่ากับตัวที่อยู่บนเครื่อง Desktop ที่มีการ์ดจอรุ่นเดียวกัน ซึ่งนั่นเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง แม้จะใช้ชื่อในการโปรโมทเป็นรุ่นเดียวกันก็ตาม

แล้วการ์ดจอบนเครื่อง Desktop กับ Laptop มันต่างกันยังไงบ้างล่ะ? วันนี้ 4Gamers จะพาคุณไปหาคำตอบในเรื่องนี้กัน
สเปคพื้นฐานของทั้งสองแพลตฟอร์ม
|
GeForce RTX 4090 Laptop GPU 150W |
|
GeForce RTX 4090 Laptop GPU 80W |
GeForce RTX 4090 (Desktop) |
GeForce RTX 4080 (Desktop) |
SM Count |
76 |
76 |
128 |
76 |
Shader Units |
9728 |
9728 |
16384 |
9728 |
RT Cores |
76 |
76 |
128 |
76 |
Tensor Cores |
304 |
304 |
512 |
304 |
GPU Core Boost Clock (MHz) |
2040 MHz |
1455 MHz |
2520 MHz |
2505 MHz |
VRAM Size and Type |
16GB GDDR6 |
16GB GDDR6 |
24GB GDDR6X |
16GB GDDR6X |
Memory Clock |
18 Gb/s |
? |
21 Gb/s |
22.4 Gb/s |
Memory Bus Width |
256-bit |
256-bit |
384-bit |
256-bit |
Memory Bandwidth |
576 GB/s |
? |
1008 GB/s |
717 GB/s |
TGP |
150W |
80W |
450W |
320W |
GPU Die |
AD103 |
AD103 |
AD102 |
AD103 |
GPU Die Size |
379 sq.mm |
379 sq.mm |
609 sq.mm |
379 sq.mm |
Transistor Count |
46 billion |
46 billion |
76 billion |
46 billion |
ข้อมูลจาก TechSpot.com
ก่อนอื่นเรามาดูตารางเปรียบเทียบสเปคของการ์ดจอบนเครื่อง Desktop และ Laptop กันแบบหมัดต่อหมัดกันก่อน โดยมีสเปคของการ์ดจอ RTX 4080 บน Desktop มาเทียบกันด้วย ซึ่งอย่างแรกที่เราเห็นได้ชัด ๆ เลยก็คือเรื่องของจำนวน Core ในส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Tensor Core, Ray Tracing Core หรือแม้แต่ Shader Unit หรือ CUDA Core ที่ RTX 4090 บน Laptop มีจำนวนน้อยกว่าเกือบ ๆ 40% เลยทีเดียว
เรื่องต่อมาก็คือความเร็ว Boost Clock และ Memory Bus ที่น้อยกว่า ตรงส่วนนี้จะเกี่ยวข้องกับพลังในการประมวลผลแบบเพียว ๆ (แบบที่นักแต่งคอมหลายคนชอบเรียกกันว่า "พลังดิบ" นั่นแหละ) ดังนั้นก็อย่าแปลกใจว่า ทำไมเล่นเกมที่ความละเอียดเท่ากัน CPU ที่ใช้ก็แรงไม่ต่างกันทั้งบน Desktop และ Laptop ซึ่งพอเรามามองดูตรง Boost Clock ที่ทำได้เราก็รู้ได้ทันทีว่าทำไมถึงเทียบกันไม่ได้ เพราะถ้าเร่ง Boost Clock ได้ไม่เท่ากัน ก็ปั่น FPS ได้ไม่เท่ากันอยู่แล้วเป็นเรื่องปกติ

ซึ่งถ้าเทียบกันแค่ตามที่เราได้ว่าไว้ด้านบน ก็จะเห็นได้ชัดอยู่แล้วว่า RTX 4090 บนเครื่อง Laptop นั้นถูก "ลดสเปค" ลงมาเยอะมาก รวมไปถึงการบริโภคพลังงานก็น้อยกว่าอย่างเห็นได้ชัด ยิ่งรุ่นที่กินไฟน้อยลงก็ยิ่งแรงลดลง แต่สิ่งที่ได้กลับมาคือการเคลื่อนย้ายและการกินไฟที่ลดลง แต่ว่าก็ว่า laptop รุ่นที่ใช้การ์ดจอตัวแรงสุดแบบนี้ น้ำหนักก็ต้องเยอะตามไปด้วย จะบอกว่าเคลื่อนย้ายได้ง่ายก็ตะขิดตะขวงใจอยู่ประมาณหนึ่งเหมือนกัน
ประสิทธิภาพในการเล่นเกม
มาลองดูตาราง Benchmark ผ่านการเล่นเกมจริง ๆ บ้าง ซึ่งสำหรับเกมที่นำมาทดสอบก็จะเป็นเกมระดับ AAA ทั้งหมดเพื่อให้ได้ผลการทดสอบที่ชัดเจนที่สุด(เพราะคนที่ซื้อการ์ดจอระดับนี้ก็เพื่อมาเล่นเกมเหล่านี้กันอยู่แล้วละนะ) โดยสามารถดูผลการทดสอบจากทาง TechSpot ได้ตามรูปด้านล่างนี้

ซึ่งผลทดสอบก็ตามคาด ประสิทธิภาพในการเล่นเกมแบบ 4K บน Cyberpunk 2077 แบบปรับสุดไม่เปิด DLSS หรือ Upscaling RTX 4090 Desktop ทำได้ดีกว่าประมาณเท่าหนึ่ง เรียกว่าจากบน Desktop เล่น 4K ปั่นเฟรมได้เกือบร้อยสบาย ๆ แต่บน Laptop ยังทำได้ไม่ดีเท่าไหร่นัก ต้องเปิด DLSS หรือ Frame Gen ช่วยถึงจะพอไหว

แต่ถ้าเป็นเกมที่กินเครื่องน้อยลงมาหน่อย แต่ต้องการ FPS สูง ๆ อย่าง CoD:Modern Warfare 2 RTX 4090 บน Laptop ก็ทำออกมาได้ไม่เลว เพราะ Max FPS นั้นได้อยู่ที่ประมาณ 79-80 FPS แต่ถ้าปรับความละเอียดลงมาที่ 2L ก็ทำได้เกิน 100FPS+ แน่นอนที่ความละเอียดภาพแบบ Extreme

โดยรวมแล้วความแรงของเจ้า RTX 4090 บน Laptop นั้นน่าจะอยู่ในระดับเดียวกับ RTX 4070 แบบ Desktop ซึ่งเหมาะสมกับการเล่นเกมที่ความละเอียด 2K แต่มีความสะดวกในการพกพาหรือเคลื่อนย้ายมากกว่านั่นเอง
สรุป
โดยรวมแล้ว ความแรงของเจ้า RTX 4090 บน Laptop นั้นยังไงก็แรงไม่เท่ากับ RTX 4090 บน Desktop อยู่แล้ว แต่ก็ถือว่าแรงที่สุดเท่าที่เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาจะจัดเข้ามาได้แล้ว และยังมีอัตราการกินไฟที่น้อยกว่าแบบ Desktop อยู่มาก ใครที่ไม่สะดวกจะจัดแบบ Desktop เพราะไม่มีที่วางหรือต้องเดินทางบ่อย เจ้า RTX 4090 บน Laptop ก็ถือว่าทดแทนได้ดีในระดับหนึ่งเลย แต่ถ้าใครอยากไปสุดทาง ยังไงการเล่นบน Desktop ก็ยังดีกว่าอยู่แล้วแน่นอน