เมื่อพูดถึงความลำบากของคนเล่นเกมยุค 90 โดยเฉพาะเครื่อง Famicom หลายคนโดยเฉพาะนักเล่นเกมที่ไม่เคยผ่านประสบการณ์นั้นมา คงคิดว่ามันต้องเป็นการเป่าตลับ ไม่ก็เรื่องราวการซื้อเกมมาเล่นที่ต้องนับความจุ หรือจะเป็นการถูกพ่อแม่ยุคนั้นด่าว่าเล่นเกมแล้วโง่ เล่นเกมแล้วทีวีจะเสียเร็ว ซึ่งนั่นก็คือเรื่องราวคลาสสิกพื้นฐานที่เล่าสืบต่อกันมา แต่ก็ยังมีความลำบากอีกอย่างที่คนเล่นเกมเครื่อง Famicom ยุค 90 ต้องเจอ โดยเฉพาะคนที่เล่นเกมภาษาต้องโดน นั่นคือการใส่รหัสเพื่อเขาเกมและจดรหัสเซฟหลังเลิกเล่นเกม วันนี้เรามาย้อนอดีตวันวานเกี่ยวกับความยากลำบากนี้กัน
ย้อนกลับไปในอดีตบนเครื่อง Famicom ยังโด่งดังในบ้านเรา ตอนนั้นก็มีเกมถูกสร้างออกมามากมาย หนึ่งในนั้นคือเกมที่เรียกว่า เกมภาษา ที่เราจะต้องเล่นตามเนื้อเรื่องที่เกมกำหนด ซึ่งเกมภาษาชื่อดังในยุคนั้นก็หนีไม่พ้นซีรีส์ Dragon Quest กับ Final Fantasy ที่ด้วยความยาวของเกมที่เล่นจบภายในสองสามชั่วโมงไม่ได้ จึงต้องทำการเซฟเกมเอาไว้ก่อนค่อยมาเล่นต่อ แต่ในยุคนั้นเทคโนโลยีถ่านเซฟยังไม่ถือกำเนิดขึ้นมา จึงต้องทำการจดรหัสเซฟที่ขึ้นหน้าจอเอาไว้ในสมุด พอจะเล่นครั้งต่อไปก็ใส่รหัสตามที่เกมบอกเพื่อเล่นเกมครั้งต่อไป
ซึ่งถ้ามันเป็นเกมแอ็กชันทั่วไปที่มีด่านตายตัวก็จะมีการจดรหัสที่ไม่ยุ่งยากอะไร หรือบางทีเราสิ่งนั้นก็เป็นเหมือนสูตรที่เราสามารถกดข้ามด่านได้ด้วย แต่ของเกมภาษามันต่างออกไป เพราะในสมัยนั้นเกมภาษาส่วนมากที่บ้านเราเล่นจะเป็นภาษาญี่ปุ่นกัน การเซฟเกมทั้งหมดจึงเป็นภาษาญี่ปุ่น และด้วยความซับซ้อนของเนื้อหาทั้งไอเทมที่เรามี เลเวลที่เราเก็บในการเซฟแต่ละครั้งก็จะต่างกัน ตัวอักษรที่ใช้ระบุว่าเราอยู่ตรงไหนของเกมจึงซับซ้อนและเยอะตามไปด้วย
และด้วยกำแพงภาษาที่เด็กยุคนั้นไม่รู้จักภาษาญี่ปุ่น การจดตัวหนังสือจึงค่อนข้างยุ่งยาก เพราะถ้าใครรู้จักหรือเคยเรียนภาษาญี่ปุ่นมาจะรู้ว่าประเทศเขามีรูปแบบตัวหนังสือหลายอย่าง และมีขีดตรงนั้นเส้นตรงนี้มากมาย ที่ถ้าจดผิดหรือเขียนสลับกันนิดเดียวก็อาจจะทำให้เราเล่นเซฟนั้นไม่ได้อีกเลย จนมีวลีที่ว่า ก่อนเล่นเกมก็ลงรหัสเซฟ 2 ชั่วโมง พอเลิกเล่นเกมก็มานั่นจดรหัสเซฟอีก 2 ชั่วโมง นั่นคือความยากลำบากที่คนยุคสมัยก่อนต้องเจอ ต่างกับสมัยที่มีสามารถเซฟเกมได้ตลอดเวลา แถมยังฝากเอาไว้ในระบบคลาวด์ได้อีก
แต่ก็โชคดีที่เทคโนโลยีนี้ก็อยู่ไม่นานก็มีระบบถ่านเซฟมาแทน (แต่ถ้าถ่านหมดเซฟก็หาย) แต่ก็ยังดีกว่าที่ต้องมานั่งจดรหัสยาว ๆ แบบที่เคยมี นั่นคือหนึ่งในความลำบากที่คนยุค 80 ถึง 90 ต้องเจอเมื่อเล่นเกมภาษาที่ถ้าคุณยากรู้ว่ามันลำบากขนาดไหน ก็ลองไปถามพ่อแม่ลุงป้าของคุณดูว่ามันจริงไหม แล้วคุณจะรู้ว่าคนเล่นเกมยุคนี้สบายในอดีเยอะมาก ๆ ขนาดไหน